สาเหตุบอย โกสิยพงษ์ มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 80 % โดยไม่รู้ตัว ?

 บอย โกสิยพงษ์ เส้นเลือดหัวใจตีบ

บอย โกสิยพงษ์ นักแต่งเพลงชื่อดัง ผ่าตัดทำ Balloon ด่วน พบว่ามีอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 80% ทั้งที่ออกกำลังกายเสมอ ทานอาหารดี โรคหลอดเลือดหัวใจตืบนี้เกิดได้อย่างไร 

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease: CAD หรือ Coronary heart disease: CHD) อีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ในตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ป่วยบางรายมักไม่ปรากฏอาการ



โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ คืออะไร? อันตรายมากแค่ไหน  

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบนี้ เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังเส้นเลือดหัวใจหนาขึ้น จนทำให้เกิดการตีบ ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต ในปัจจุบันนั้นพบว่ามีโอกาสเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าผู้หญิง 3-5 เท่า โดยเฉพาะผู้ชายในอายุ 35 ปีขึ้นไป และในผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป

จริงหรือไม่ ? ที่โรคนี้มีโอกาสเกิดในกลุ่มผู้ที่อายุน้อย

ในสมัยก่อน หากกล่าวว่าโรคนี้สามารถพบเจอในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก ก็อาจเป็นเพราะโรคนี้มักจะมาพร้อมความเสี่ยงเมื่ออายุมากขึ้น แต่ในปัจจุบันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบกลับพบในกลุ่มคนที่ยังมีอายุน้อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแนวการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ความเครียดจากปัญหาในชีวิต หรือการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มคนอายุน้อยที่มีความเสี่ยงอาจจะเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันได้เช่นกัน




ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ เช่น

อายุที่เพิ่มมากขึ้น
พันธุกรรม
ไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
รับประทานอาหารไขมันสูง
อ้วนลงพุง และขาดการออกกำลังกาย
5 สัญญาณโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ มีอะไรบ้าง ?

เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง หายใจหอบ
ปวดร้าวบริเวณแขน คอ และไหล่
เหงื่อออกท่วมตัว กระสับกระส่าย
คลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น
มักมีอาการเมื่อออกกำลังกายหนัก / ทำงานหนัก
ในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่มีความเสี่ยงระดับต่ำถึงปานกลาง ผู้ที่มีอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ชัดเจน ตลอดจนประเมินผลหลังรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รวมทั้งการแยกโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดโคโรนารีอุดตันกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (Non – Ischemic Dilated Cardiomyopathy) นั้น การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 256-Slice CT Scan นอกจากมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นคือ 
สามารถบอกปริมาณคราบหินปูนที่จับเกาะใต้ผนังชั้นใน (Intima) ของผนังหลอดเลือดโคโรนารี ทำให้บอกความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคตร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้ด้วยแล้ว ยังเต็มไปด้วยข้อดีมากมายคือ

ชัดเจน ถูกต้อง ภาพคมชัดความละเอียดสูง ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการตรวจ
ใช้เวลาตรวจไม่นาน เพราะเครื่องสแกนหมุนต่อรอบเพียง 0.27 วินาที ผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซเรย์น้อยลง
ตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยอัตราการเต้นหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที
ตรวจปริมาณสะสมหินปูนและความผิดปกติในหลอดเลือดได้ในครั้งเดียว
แปลผลถูกต้องด้วยรังสีแพทย์และอายุรแพทย์โรคหัวใจ







เลือกทาน “คินน์ นัตโตะ” อย่างน้อยวันละ 1 แคปซูล
-ช่วยลดไขมัน LDL(ไขมันไม่ดี)
-ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
-ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์
-ป้องกันโรคหัวใจ
-ลดโอกาสการเกิดเส้นเลือดในสมองแตก


ดูรีวิวเพิ่มเติม >>  https://bit.ly/3yP0QXV