ความเชื่อผิด เกี่ยวกับการลดน้ำหนักกินยาระบายเพื่อลดความอ้วนมีอันตรายอย่างไร
ปัญหาของผู้หญิงส่วนใหญ่นอกจากความแก่แล้ว ก็ยังมีความอ้วนอีกอย่างหนึ่งที่สร้างความหนักใจเป็นอย่างมาก จนทำให้สาวๆ มักจะหาวิธีต่างๆ นานาในการกำจัดไขมันส่วนเกินออกไป โดยไม่อยากเหนื่อยด้วยวิธีออกกำลังกาย ซึ่งมีวิธีหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ก็คือการลดน้ำหนักโดยใช้ยาถ่าย
ยาถ่ายคือกลุ่มยาชนิดใด
ยาถ่ายคือกลุ่มของตัวยาที่มีผลกับการระบายท้อง ช่วยทำให้การถ่ายอุจจาระเป็นไปอย่างสะดวกสบายง่ายยิ่งขึ้น เป็นยาที่นิยมใช้ในรักษาอาการท้องผูก แต่มีบางคนที่นำไปใช้เพื่อหวังผลที่จะลดน้ำหนักและทำให้ร่างกายผอมลง โดยเฉพาะความเชื่อของบุคคลบางกลุ่มว่า เหตุผลที่ยังอ้วนเป็นเพราะไม่ได้ถ่ายอุจจาระ ดังนั้นจึงใช้ยาถ่ายเพื่อหน้าท้องและลดน้ำหนักนั่นเอง
ชนิดของยาถ่ายมีอะไรบ้าง
ยาถ่ายสามารถแบ่งได้ตามกลุ่มการออกฤทธิ์ของยา เช่น ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ยาเพิ่มความเหลวให้อุจจาระ ยาเพิ่มกากใยของอุจจาระ ยาสวนทวารหนัก หรือยาเหน็บทวารหนัก ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามกลไกของการออกฤทธิ์ ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์ และวิธีใช้ โดยยาถ่ายกลุ่มที่นิยมใช้มากที่สุดคือกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งมีการนำมารักษาอาการท้องผูก อีกทั้งยังมีบางคนที่นำมาใช้เพื่อลดความอ้วนด้วยเช่นกัน
อันตรายจากการใช้ยาถ่ายลดน้ำหนัก
-เกิดพิษต่อหัวใจหรือไต มักเป็นกลุ่มยาถ่ายที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดการถ่ายท้องที่รุนแรงและเป็นอันตราย โดยร่างกายจะดูดซึมแล้วทำให้เกิดพิษต่อหัวใจกับไต ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจต้องห้ามรับประทานอย่างยิ่ง
-ร่างกายเสียน้ำ เมื่อร่างกายมีการถ่ายท้องบ่อยๆ จะทำให้อยู่ในภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกโล่งท้องหรือตัวเบาโปร่งเหมือนน้ำหนักตัวลด แต่แท้จริงแล้วไม่ได้ทำให้สัดส่วนของร่างกายเล็กลงหรือน้ำหนักร่างกายลดลงไปได้เลย
-ปวดท้องเพราะกระตุ้นลำไส้ใหญ่มากเกินไป การรับประทานยาถ่ายควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ในกรณีที่บางคนถ่ายยากหรือที่เรียกว่าธาตุหนัก อาจต้องใช้ปริมาณยามากเกินกว่า 1 เม็ด เพราะมีบางคนที่ใช้ปริมาณมากจนเกินขนาด ทำให้ก่อนถ่ายมีอาการปวดมวนท้อง ปวดบิด หรือเสียน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ออกมากับอุจจาระมากเกินไป ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ และปากแห้งได้
-ร่างกายไม่ดูดซึมวิตามิน มักจะเป็นในผู้ที่ใช้ยาถ่ายประเภทยาช่วยหล่อลื่นลำไส้ เพื่อทำให้อุจจาระนุ่มและถ่ายสะดวก แต่จะทำให้ร่างกายไม่ดูดซึมวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค อีกทั้งต้องระวังไม่ให้สำลักระหว่างรับประทาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้
-ลำไส้ใหญ่หย่อนยาน เกิดจากการใช้ยาถ่ายเป็นเวลานานจนลำไส้ไม่สามารถบีบตัวทำงานด้วยตัวเองได้ จึงต้องใช้ยาถ่ายเพื่อเร่งลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้มีลักษณะหย่อนยาน หากหยุดรับประทานก็จะถ่ายไม่ได้นั่นเอง
-หงุดหงิด ตัวบวม มีกลิ่นตัว ปากเหม็น ผิวพรรณไม่ผ่องใส เมื่อไม่สามารถถ่ายได้ด้วยตนเอง ก็จำเป็นต้องใช้ยาถ่ายช่วยกระตุ้น และถ้าไม่มีการถ่ายอุจจาระนานวันเข้าก็จะเกิดการสะสมพิษอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
-ต้องใช้ในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อใช้ยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายจะมีการปรับตัวให้สามารถทนกับความถี่และปริมาณการใช้ยา หรือที่เรียกกันว่า “ดื้อยา” หมายถึงถ้าใช้ยาในปริมาณเท่าเดิมจะทำให้มีผลในการระบายท้องน้อยลง หากต้องการให้ส่งผลเท่าเดิมต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้น
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ร่างกายจะลดน้ำหนักได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 2 ประการ นั่นคือการควบคุมอาหารไม่ให้เหลือเกินจากความต้องการของร่างกาย และต้องออกกำลังกายให้หนักอย่างเพียงพอที่จะสลายไขมันสะสมตามร่างกายออกได้ จึงจะช่วยให้น้ำหนักลดลงโดยไม่ต้องพึ่งยาถ่าย และไม่เกิดการกลับมาอ้วนอย่างถาวรกับปัจจัยหลักๆอยต่่มีผลกับความอ้วนของคนที่กินยาระบายเลยแสดงว่า ลำไส้ใหญ่ไม่ได้ช่วย
cr:honestdoc
ยาถ่ายคือกลุ่มของตัวยาที่มีผลกับการระบายท้อง ช่วยทำให้การถ่ายอุจจาระเป็นไปอย่างสะดวกสบายง่ายยิ่งขึ้น เป็นยาที่นิยมใช้ในรักษาอาการท้องผูก แต่มีบางคนที่นำไปใช้เพื่อหวังผลที่จะลดน้ำหนักและทำให้ร่างกายผอมลง โดยเฉพาะความเชื่อของบุคคลบางกลุ่มว่า เหตุผลที่ยังอ้วนเป็นเพราะไม่ได้ถ่ายอุจจาระ ดังนั้นจึงใช้ยาถ่ายเพื่อหน้าท้องและลดน้ำหนักนั่นเอง
ชนิดของยาถ่ายมีอะไรบ้าง
ยาถ่ายสามารถแบ่งได้ตามกลุ่มการออกฤทธิ์ของยา เช่น ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ยาเพิ่มความเหลวให้อุจจาระ ยาเพิ่มกากใยของอุจจาระ ยาสวนทวารหนัก หรือยาเหน็บทวารหนัก ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามกลไกของการออกฤทธิ์ ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์ และวิธีใช้ โดยยาถ่ายกลุ่มที่นิยมใช้มากที่สุดคือกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งมีการนำมารักษาอาการท้องผูก อีกทั้งยังมีบางคนที่นำมาใช้เพื่อลดความอ้วนด้วยเช่นกัน
อันตรายจากการใช้ยาถ่ายลดน้ำหนัก
-เกิดพิษต่อหัวใจหรือไต มักเป็นกลุ่มยาถ่ายที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดการถ่ายท้องที่รุนแรงและเป็นอันตราย โดยร่างกายจะดูดซึมแล้วทำให้เกิดพิษต่อหัวใจกับไต ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจต้องห้ามรับประทานอย่างยิ่ง
-ร่างกายเสียน้ำ เมื่อร่างกายมีการถ่ายท้องบ่อยๆ จะทำให้อยู่ในภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็น ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกโล่งท้องหรือตัวเบาโปร่งเหมือนน้ำหนักตัวลด แต่แท้จริงแล้วไม่ได้ทำให้สัดส่วนของร่างกายเล็กลงหรือน้ำหนักร่างกายลดลงไปได้เลย
-ปวดท้องเพราะกระตุ้นลำไส้ใหญ่มากเกินไป การรับประทานยาถ่ายควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ในกรณีที่บางคนถ่ายยากหรือที่เรียกว่าธาตุหนัก อาจต้องใช้ปริมาณยามากเกินกว่า 1 เม็ด เพราะมีบางคนที่ใช้ปริมาณมากจนเกินขนาด ทำให้ก่อนถ่ายมีอาการปวดมวนท้อง ปวดบิด หรือเสียน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ออกมากับอุจจาระมากเกินไป ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ และปากแห้งได้
-ร่างกายไม่ดูดซึมวิตามิน มักจะเป็นในผู้ที่ใช้ยาถ่ายประเภทยาช่วยหล่อลื่นลำไส้ เพื่อทำให้อุจจาระนุ่มและถ่ายสะดวก แต่จะทำให้ร่างกายไม่ดูดซึมวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค อีกทั้งต้องระวังไม่ให้สำลักระหว่างรับประทาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้
-ลำไส้ใหญ่หย่อนยาน เกิดจากการใช้ยาถ่ายเป็นเวลานานจนลำไส้ไม่สามารถบีบตัวทำงานด้วยตัวเองได้ จึงต้องใช้ยาถ่ายเพื่อเร่งลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้มีลักษณะหย่อนยาน หากหยุดรับประทานก็จะถ่ายไม่ได้นั่นเอง
-หงุดหงิด ตัวบวม มีกลิ่นตัว ปากเหม็น ผิวพรรณไม่ผ่องใส เมื่อไม่สามารถถ่ายได้ด้วยตนเอง ก็จำเป็นต้องใช้ยาถ่ายช่วยกระตุ้น และถ้าไม่มีการถ่ายอุจจาระนานวันเข้าก็จะเกิดการสะสมพิษอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว
-ต้องใช้ในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อใช้ยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายจะมีการปรับตัวให้สามารถทนกับความถี่และปริมาณการใช้ยา หรือที่เรียกกันว่า “ดื้อยา” หมายถึงถ้าใช้ยาในปริมาณเท่าเดิมจะทำให้มีผลในการระบายท้องน้อยลง หากต้องการให้ส่งผลเท่าเดิมต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้น
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ร่างกายจะลดน้ำหนักได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 2 ประการ นั่นคือการควบคุมอาหารไม่ให้เหลือเกินจากความต้องการของร่างกาย และต้องออกกำลังกายให้หนักอย่างเพียงพอที่จะสลายไขมันสะสมตามร่างกายออกได้ จึงจะช่วยให้น้ำหนักลดลงโดยไม่ต้องพึ่งยาถ่าย และไม่เกิดการกลับมาอ้วนอย่างถาวรกับปัจจัยหลักๆอยต่่มีผลกับความอ้วนของคนที่กินยาระบายเลยแสดงว่า ลำไส้ใหญ่ไม่ได้ช่วย
cr:honestdoc