มะเร็งลำไส้ อาการเป็นอย่างไร ปวดท้องแบบไหน ?


            ส่วนใหญ่แล้วอาการของมะเร็งลำไส้จะขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อและตำแหน่งของมะเร็ง โดยหลัก ๆ แล้วจะมีการพบก้อนเนื้อบริเวณลำไส้ส่วนต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
- บริเวณลำไส้ใหญ่ด้านขวา
หากผู้ป่วยมีก้อนเนื้อมะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่ด้านขวา จะทำให้มีอาการอ่อนเพลีย โลหิตจาง มีเลือดออกในทางเดินอาหาร บางรายอาจมีอาการปวดหน่วง ๆ ที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา หากคลำบริเวณท้องก็จะพบก้อนเนื้ออยู่ด้วย ในกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยพบอาการลำไส้อุดตัน
- บริเวณลำไส้ใหญ่ด้านซ้าย
ก้อนเนื้อมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ด้านซ้ายจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการลำไส้อุดตันจากก้อนมะเร็ง หรือมีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ มีอาการท้องผูก ปวดท้อง อาเจียน ไม่ผายลม บางรายอาจไม่มีการถ่ายอุจจาระเลย หรือถ้าถ่ายออกมาก็อาจมีเลือดปนออกมาด้วย
- บริเวณลำไส้ตรง
เนื่องจากลำไส้ตรงเป็นส่วนปลายของลำไส้ที่อยู่ใกล้ทวารหนัก หากผู้ป่วยมีก้อนเนื้อบริเวณนี้ก็อาจจะมีอาการปวดทวารหนักอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นเลือด เมื่อถ่ายและก็อาจจะถ่ายไม่สุด บางรายอาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณขาหนีบโต หรือมีก้อนเนื้อออกมาจากทวารหนักที่ไม่ใช่ริดสีดวง
ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อมะเร็งในลำไส้ใหญ่ซึ่งมีอาการลำไส้อุดตัน จะมีอาการปวดท้องรุนแรงคล้ายลำไส้ถูกบิดอยู่เป็นระยะ อาจมีอาการถ่ายไม่ออก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้หากอยู่ในระยะเริ่มแรกก็สามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากสีอุจจาระ หากมีความผิดปกติก็ควรไปพบแพทย์ก่อนจะดีที่สุดค่ะ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีกี่ระยะ
มะเร็งลำไส้ใหญ่มีทั้งหมด 4 ระยะ ซึ่งในแต่ละระยะมีอัตราการหายขาดจากโรคที่แตกต่างกันไป ดังนี้
มะเร็งลำไส้ ระยะแรก (ระยะที่ 1) - ระยะเริ่มแรก เป็นระยะที่ยังไม่มีการลุกลาม จึงสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด อัตราการหายขาดอยู่ที่ 95%
มะเร็งลำไส้ ระยะที่ 2 - เป็นระยะที่เริ่มลุกลาม โดยเซลล์มะเร็งจะทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ และอาจลามไปถึงเยื่อหุ้มลำไส้ เนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ หรืออวัยวะข้างเคียง จำเป็นต้องได้รับการรักษาทั้งแบบผ่าตัด และเคมีบำบัดควบคู่กันไป มีโอกาสหายขาดถึง 80-90% แต่ถ้าหากรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างเดียวโอกาสจะอยู่ที่ 70%
มะเร็งลำไส้ ระยะที่ 3 - มะเร็งจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต้องทำการผ่าตัดนำต่อมน้ำเหลืองออกให้มากที่สุด และต้องมีการทำเคมีบำบัดด้วยเพื่อไม่ให้มะเร็งฟื้นตัวและกลับมาลุกลามได้ ระยะนี้โอกาสหายขาดอยู่ที่ 60%
มะเร็งลำไส้ ระยะสุดท้าย (ระยะที่ 4) - ถือเป็นระยะที่ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากมะเร็งจะแพร่กระจายไปที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ปอด หรือกระดูก ในการรักษาจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อตัดอวัยวะบางส่วนที่เป็นมะเร็งออก และทำเคมีบำบัดร่วมด้วย ในระยะนี้หากได้รับการรักษาที่ต่อเนื่องโอกาสหายขาดก็เทียบเท่ากับระยะที่ 3

 การตรวจมะเร็งลำไส้ มีวิธีใดบ้าง
ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาโรคมะเร็งลำไส้สามารถทำได้หลายวิธี มีตั้งแต่วิธีเบื้องต้นไปจนถึงการตรวจทางพยาธิวิทยา โดยแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติครอบครัว ประวัติส่วนตัว ตรวจร่างกายโดยทั่วไปแล้วจึงจะเข้าสู่การตรวจเฉพาะทาง มีวิธีตรวจดังนี้
1. การใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก
วิธีนี้ถือเป็นการตรวจแบบเบื้องต้น โดยแพทย์จะสวมถุงมือและทาครีมหล่อลื่นแล้วจึงจะตรวจบริเวณปากทางของทวารหนัก เพื่อตรวจดูว่ามีก้อนเนื้อแปลกปลอมอะไรหรือไม่
2. ตรวจหาเลือดในอุจจาระ
แพทย์จะสั่งให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจงดเนื้อสัตว์และเลือดสัตว์ รวมทั้งอาหารเสริมบำรุงเลือดต่าง ๆ ที่อาจใช้อยู่เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นก็จะนำตัวอย่างอุจจาระที่ได้ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งถ้าหากมีเลือดปนอยู่ในอุจจาระก็แปลว่าภายในระบบทางเดินอาหารอาจมีเลือดออก แพทย์ก็จะส่งตัวให้ไปทำการตรวจอย่างละเอียดในขั้นต่อไป
3. การส่องกล้อง
การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยมีทั้งหมด 2 แบบคือ แบบที่ตรวจเฉพาะลำไส้ส่วนล่าง เรียกว่า Sigmoidoscope และการส่องกล้องเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด เรียกว่า Colonoscopy
4. การกลืนสีหรือแป้ง (barium enema)
นอกจากส่องกล้องแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่สามารถตรวจหาก้อนเนื้อได้ก็คือการกลืนสารทึบรังสี แล้วเอกซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่
5. การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
หากพบความผิดปกติของลำไส้หลังจากเอกซเรย์ หรือขณะที่กำลังส่องกล้อง แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ถ้าหากใช่ แพทย์ก็จะวางแผนสำหรับการรักษาต่อไป
 มะเร็งลำไส้ รักษาอย่างไร ?
หลังจากที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้แล้ว แพทย์จะตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งว่าอาการที่เป็นอยู่ในระยะใด จากนั้นจึงจะเริ่มต้นวางแผนสำหรับการรักษา ทั้งนี้แพทย์จะต้องเช็กสภาพความพร้อมของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสุขภาพ อายุ และระยะของมะเร็ง แล้วถึงจะวางแผนการรักษาได้ โดยวิธีการรักษาที่ใช้อยู่กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่
1. การผ่าตัด
การผ่าตัดถือเป็นวิธีการรักษาเบื้องต้นของโรคมะเร็ง โดยแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกจะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว โดยจะผ่าตัดนำลำไส้ส่วนที่เสียออกแล้วนำลำไส้ที่เหลือมาต่อกัน แต่ถ้าหากส่วนที่เป็นมะเร็งนั้นอยู่ใกล้ทวารหนักก็อาจมีการตัดทวารหนักทิ้ง และให้ผู้ป่วยใช้การอุจจาระผ่านทางหน้าท้อง จากนั้นแพทย์ก็จะทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิดจนมั่นใจว่าจะไม่มีการกลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ถ้าหากผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 2 ขึ้นไป ก็จะเพิ่มการรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัดตามมาหลังการผ่าตัดด้วยเพื่อให้ ทำลายเซลล์มะเร็งให้หมด ไม่ให้หลงเหลือจนเกิดมะเร็งซ้ำ
2. รังสีรักษา
รังสีรักษาเป็นการรักษาที่ใช้รังสีทำลายเซลล์มะเร็งในบริเวณที่เกิดโรค วิธีนี้สามารถลดขนาดของก้อนเนื้อมะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็งได้เกือบทั้งหมด ทำให้สามารถผ่าตัดได้ง่ายขึ้น โดยการใช้รังสีรักษาจะทำได้ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด แต่ปัจจุบันนี้แพทย์นิยมให้ใช้การรักษาด้วยรังสีก่อนการผ่าตัด เนื่องจากได้ผลที่ดีกว่า แต่การให้รังสีหลังผ่าตัดก็สามารถป้องกันการเกิดซ้ำของโรค และลดการนำลำไส้มาเปิดไว้ที่หน้าท้องได้เช่นกัน
3. เคมีบำบัด
การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้ร่วมกับการผ่าตัด โดยผู้ป่วยหลังจากได้รับการผ่าตัดแล้วก็จะต้องได้รับยาเคมีบำบัดเพิ่มเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาแบบนี้จะต้องเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 2 เป็นต้นไป หรือมีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ การใช้เคมีบำบัดสามารถเพิ่มโอกาสรอดของผู้ป่วยได้มากเลยทีเดียว ขณะที่ในบางรายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัดก็จะกลายเป็นการรักษาหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ลดความทรมานจากมะเร็ง แต่จะไม่สามารถทำให้หายขาดได้
 การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพเป็นเรื่องที่

สำคัญที่สุด สั่งซื้อผ่าน LAZADA  

 ORICEZA ออไรซ์ซ่า น้ำมันรำข้าว